วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

            ประวัติและความเป็นมา


 กำเนิดมวยสากล
                มวยสากลเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีมาแต่โบราณ โดยเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของทหารในสนามรบ และกลายเป็นเกมกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิคยุคโบราณ โดยที่นักมวยในยุคนั้นไม่มีการจ้ากัดน้ำหนัก ไม่สวมเครื่องป้องกันตัว และไม่จำกัดว่าต้องใช้ได้เพียงหมัด สามารถกัดหรือถองคู่ต่อสู้ได้ โดยไม่มีกติกามากนัก เพียงแต่นักมวยทั้งคู่ต้องถอดเสื้อผ้าให้หมดทั้งตัว เพื่อไม่ให้ซ่อนอาวุธเอาไว้ จนกระทั่งในปี พ.. 2236 เจมส์ ฟิกซ์ (James Figg) ผู้ชนะเลิศการต่อสู้ด้วยมิอเปล่าชาวอังกฤษได้กำหนดกฎกติกาในการชก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น " บิดาแห่งมวยสากล " และต่อมาก็ได้มีผู้สร้างนวมขึ้นมา แต่ยังไม่มีการใช้ จนกระทั่งในปี พ.. 2432 จอห์น แอล ซัลลิแวน (John L. Sulrivan) ผู้ชนะเลิศการชิงแชมป์มวยด้วยมือเปล่า ประกาศว่าจะไม่ขอขึ้นชกด้วยมือเปล่าอีกต่อไป เป็นจุดเริ่มต้นของการชกด้วยการสวมนวม และได้พัฒนาจนมาเป็นเกมกีฬาที่มีกติกาชัดเจนเช่นในปัจจุบัน

             มวยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะเป็นวิชาการที่ทุกท่าน อาจจะศึกษาหาความรู้ได้เช่นวิชาแขนงอื่นๆ และเป็นศิลป์อย่างสูงของนักมวยคนหนึ่งยากที่นักมวยอีกคนหนึ่งจะพึ่งปฏิบัติสืบทอดต่อไปได้ ดังที่ทุกท่านตระหนักดีว่า มวยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งตามธรรมชาติ ปัจจุบันมีมวยอยู่ 2 ชนิดคือ มวยปล้้าและมวยชกแบ่งเป็น 2 แบบคือ ชกด้วยหมัด บวกกับการต่อสู้ด้วยเท้าตามแบบมวยไทย และชาติเพื่อนบ้าน โดยชกด้วยหมัดเพียงอย่างเดียว อันเป็นที่นิยมกันทั่วโลก เรียกว่า มวยสากล (Boxing)




ยุคสมัยมวยสากลในอดีต
             มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐานซึ่ง Sir Ather Evan ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณ ซึ่งแยกออกเป็นชิ้นๆ ในปี พ.ศ. 2443 ที่เมืองบอซซุส อันเป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะ ครีตของประเทศกรีซ ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากหลักฐานท้าให้ทราบว่า มวยโบราณสมัยกรีกก่อนคริสต์ศักราช 

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

- ระยะแรก เป็นสมัยของโฮมเมอร์ ประมาณ 900-600 ก่อนคริสต์ศักราช ตอนนี้ใช้หนังอ่อนๆ ยาว 10-12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความแข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และฝีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งส้าคัญ
- ระยะที่สอง ระหว่าง 400-200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มีการดัดแปลงเล็กน้อยคือ พันมือแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นที่นิยมในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องฝึกอย่างน้อย 9 เดือน เมื่อใกล้ถึงวันแข่งจริงจะท้าการจับคู่คล้ายกับปัจจุบัน วิธีการชกคือ นักมวยเข้าหากันเป็นเส้นตรง ชกกันตลอดเวลาไม่มีการพักยกจนกว่าข้างหนึ่งข้างใดจะหมดก้าลัง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสิน และไม่มีก้าหนดน้้าหนัก
- ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวกพวก Giadaiors ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่งต่อมาในราวปี พ.ศ. 937 โรมันเสื่อมอ้านาจลง การชกมวยก็ได้เสื่อมไปด้วย
เมื่อครั้งโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้น้าเอามวยเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย ซึ่งนักบุญเบอร์นาร์ดได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. 1783 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวิน



มวยสากลในประเทศไทย
              มวยสากลหรือที่เรียกในยุคแรกว่า "มวยฝรั่ง" เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกราว พ.ศ. 2455 โดยได้แบบอย่างจากประเทศอังกฤษ ผู้น้ามาเผยแพร่คือหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล ครั้งแรกน้ามาเผยแพร่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และแพร่ต่อไปยังโรงเรียนต่างๆ มีการจัดแข่งขันมวยนักเรียนซึ่งเป็นแบบมวยสากลสมัครเล่น
ต่อมา พระยาคฑาธรบดีสีหบาลเมือง เช่าพื้นที่ด้านศาลาแดงของสวนลุมพินีจัดให้มีการละเล่นต่างๆ เรียกว่าสวนสนุก มีการสั่งนักมวยสากลจากต่างชาติมาชกโชว์เรียกว่า "เต็ดโชว์" เมื่อเป็นที่นิยมจึงมีการคัดเลือกนักมวยสากลชาวไทยข้นชกกับนักมวยต่างชาติเหล่านั้นในแบบมวยสากลอาชีพ การชกระหว่างนักมวยสากลชาวไทยกับต่างชาติมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ในวันนั้น สุวรรณ นิวาศวัต นักมวยไทยชื่อดังขึ้นชกเป็นคู่แรก แพ้น็อค เทอรี่ โอคัมโป (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ส่วนคู่ที่ 2 โม่ สัมบุณณานนท์ ชนะน็อค ยีซิล โคโรนา (ฟิลิปปินส์) ยก 4
             จากนั้นกีฬามวยสากลเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น มีนักมวยสากลชาวไทยชกชนะสร้างชื่อเสียงอยู่เนืองๆ เช่น สมพงษ์ เวชสิทธิ์ เป็นแชมป์มวยสากลของสิงคโปร์ ผล พระประแดงเป็นรองแชมป์โลกคนแรก จ้าเริญ ทรงกิตรัตน์ เป็นแชมป์ OPBF คนแรกและขึ้นชิงแชมป์โลกเป็นคนแรกด้วยแต่ไม่ส้าเร็จ แชมป์โลกชาวไทยคนแรกคือ โผน กิ่งเพชร ซึ่งได้ครองแชมป์เมื่อ พ.ศ. 2503 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) 

ประเทศไทยมีแชมป์โลกทั้งสิ้น 37 คน ในจ้านวนนี้มีนักมวยที่สร้างสถิติโลกและเอเชียมากมายเช่น
 โผน กิ่งเพชร เป็นแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท 3 สมัย คนแรก
 แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นคนแรกที่ชกมวย 3 ครั้งแล้วได้เป็นแชมป์โลก
 เขาทราย แกแล็คซี่ ป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นสถิติโลกในรุ่น 115 ปอนด์
 เขาทราย แกแล็คซี่ และ เขาค้อ แกแล็คซี่ เป็นแชมป์โลกพี่-น้องคู่แฝด คู่แรกของโลก
 ชนะ ป.เปาอินทร์ และ สงคราม ป.เปาอินทร์ เป็นแชมป์โลกพี่-น้องคู่แฝด คู่ที่สองของโลก ซึ่งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) ยังมีเพียง 2 คู่ในโลกเท่านั้น
 พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ ป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในรุ่น 112 ปอนด์ และป้องกันแชมป์โลกรุ่นนี้ด้วยการชนะน็อคเร็วที่สุด